สำหรับคนที่ต้องทำงานกับข้อความบ่อยๆ เช่น เขียนบล็อก เขียนบนทความ หรือเขียนหนังสือ เขาจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “คลังคำศัพท์” อยู่ในหัว เพื่อที่จะได้สามารถหยิบจับมาใช้ได้เวลาต้องการ ผมคิดว่านักพัฒนาซอฟท์แวร์ก็ต้องมีคลังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานอยู่ในหัวด้วยเหมือนกัน

pexels-pixabay-256559-2

คลังคำศัพท์

คลังคำศัพท์​ก็เปรียบเสมือนวัตถุดิบที่เราสามารถหยิบจับมาใช้ใช้ได้เวลาที่เราต้องการเขียนอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบทความ หรือหนังสือ หากเราไม่มีคลังคำศัพท์ไว้ให้ใช้แล้ว สิ่งที่เราเขียนออกมาก็อาจจะเกิดความซ้ำ หรือสื่อความหมายได้ไม่ดีเท่าที่ควร หลายๆครั้งเราจึงมักได้ยินว่า คนจะเขียนเก่ง ก็จะต้องเป็นคนที่อ่านเก่งด้วย เพื่อที่จะได้เป็นการเติมคลังคำศัพท์ของเราให้หลากหลาย ปัจจุบันผมก็เห็นมีคนทำหนังสือคลังคำศัพท์เฉพาะทางออกมาขายอยู่ เช่น คลังคำศัพท์สำหรับคนเขียนนิยาย เป็นต้น

คลังความรู้ด้านการพัฒนาซอฟท์แวร์

คนที่ทำงานสายการพัฒนาซอฟท์แวร์ (อย่างผม) ก็ไม่ต่างกัน หากเรารู้จักเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการทำงาน (Tech-Stack) อยู่เพียงอย่างเดียวหรือสองอย่าง เวลาได้โจทย์อะไรมาก็มักจะต้องแก้ปัญหาโจทย์การพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีที่มี ทั้งๆที่มันอาจจะมีเทคโนโลยีอื่นๆที่สามารถตอบโจทย์เฉพาะในด้านต่างๆได้ง่ายกว่า ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า หากเราต้องการจัดการกับข้อมูลหรือแปลงรูปแบบไฟล์อะไรสักอย่าง หากเราไม่ใช้เทคโนโลยีที่รู้ในการแก้ปัญหา ก็อาจจะสามารถทำได้ แต่หากเราทราบว่ามี package หรือ Library อะไรที่สามารถทำได้ง่ายๆแล้วนำมาใช้งาน ก็จะช่วยให้เราสามารถทำการแก้โจทย์การทำงานต่างๆได้โดยใช้เวลาที่สั้นลง และได้โค้ดที่มีคุณภาพมากขึ้น เป็นต้น

อีกตัวอย่างเช่นผมมีงานที่ต้องแก้ปัญหาด้วย Linear Programming ซึ่งเดิมผมใช้ JavaScript ในการพัฒนาระบบ แต่สุดท้าย ผมก็เปลี่ยนไปใช้ Python แทนเนื่องจาก Python เองมี package ที่เก่งทางด้าน Linear Programming ให้เลือกใช้ได้หลายตัว ทำให้สามารถลดเวลาการพัฒนางานไปได้มาก เป็นต้น

การศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆในการพัฒนาซอฟท์แวร์ ก็จะทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้เผื่อใช้งานได้ในอนาคต แต่ก็ไม่จำเป็นว่า เราจะต้องวิ่งหาเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา ซึ่งหากทำเช่นนั้น ก็จะทำให้ต้นทุนในการดูแลระบบของเราสูงขึ้นอย่างไม่จำเป็น


Photo by Pixabay

Post Views: 9

Previous Post Next Post